วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประเพณีแห่นาคโหด จ.ชัยภูมิ

ประเพณีแห่นาคโหด

                 
                 การแห่นาคบนแคร่ไม้ไผ่นี้เป็นเหมือนบททดสอบความอดทนของลูกผู้ชายที่จะมาบวชเพื่อทดแทนพระคุณของแม่  ผู้ที่ต้องอดทนต่อความเจ็บปวดเมื่อครั้งคลอดลูกและยังต้องทรมานกับอยู่ไฟบนแคร่ไม้ไผ่อีก  ฉะนั้น
นาคที่นี่จะต้องนั่งบนแคร่ไม้ไผ่และถูกหามแห่ไปรอบๆหมู่บ้านเพื่อให้ทราบถึงความยากลำบากของแม่ในการคลอดลูก โดยได้ปฏิบัติสืบทอดกันมานานหลายชั่วอายุคน ต่อมาในปี 2514 นาคในปีนั้นชื่อนายโอด ขวัญกล้า และนายนิรันดร ขวัญยืน ทั้งสองเป็นชายหนุ่มที่ชอบสนุกสนาน จึงให้คนหามโยนนาคแรงๆ  ต่อมาจึงได้กลายเป็นประเพณีแห่นาคโหด ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร หนึ่งเดียวของโลก

ความสำคัญ
ประเพณีอุปสมบทถือว่าเป็นประเพณีอันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยทุกคนควรทำนุบำรุง   และรักษาไว้ให้อยู่คู่ประเทศไทย และงานประเพณีอุปสมบทหมู่แห่นาคโหดของชุมชนบ้านโนนเสลา  ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เป็นงานอุปสมบทที่ยึดถือตามแนวประเพณีอุปสมบทซึ่งมีอยู่ทั่วทุกท้องถิ่นไทย และยังเป็นประเพณีที่แปลกโดยเฉพาะวิธีการแห่นาคที่สะท้อนถึงงานประเพณีที่สอดแทรกกุศโลบายและความสนุกสนานทำให้ชาวบ้านมีความสมัครสมานสามัคคีกัน
ประเพณีอุปสมบทหมู่ บ้านโนนเสลามีลักษณะและสาระสำคัญเหมือนกับประเพณีอุปสมบททั่วไป จะมีความแตกต่างบ้างเล็กน้อยเกี่ยวกับรายละเอียด โดดเด่นคือ การแห่นาค โดยจะมีวิธีการแตกต่างจากที่อื่น เพราะใช้วิธีการที่ค่อนข้างรุนแรง หรือที่เรียกกันว่า “โหด” และเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “แห่นาคโหด” ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า ประเพณีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่มีความเชื่อว่า เกิดขึ้นตั้งแต่โบราณพร้อม ๆ กับการก่อตั้งหมู่บ้านมาหลายร้อยปี เพราะประชาชนในหมู่บ้านเป็นพุทธศาสนิกชน และการบวชเป็นวิถีของชาวพุทธทุกคน และมีการปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างจริงจังมากขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ มาจนถึงปัจจุบัน

Image result for แห่นาคโหด
                                                           https://www.google.co.th/search:

ประเพณี/พิธีกรรม
ลูกหลานที่จะบวชแทนคุณบิดามารดา ซึ่งมีความประสงค์บวชเอง จะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เดือนสี่ ผู้เป็นบิดาจะพาบุตรชายไปฝากไว้กับเจ้าอาวาส   ใน ๒ วัดของหมู่บ้านโนนเสลา คือวัดบุญถนอมพัฒนาราม(วัดนอก) และวัดตาแขก(วัดใน) เพื่อถือขัน ๕ ประกอบด้วยเทียน ๕ คู่ ดอกไม้ ๕ คู่ ไปฝากตัวเป็นนาคปฏิบัติธรรมถือศีล ๘ อยู่ที่วัด เรียนรู้บทสวดที่จะบวช และเรียนรู้พระธรรมวินัยเบื้องต้น ก่อนถึงกำหนดวันบวชของประเพณีแห่นาคโหดในวันขึ้น 1 ค่ำ แรม 15 ค่ำ ของเดือนหกเป็นประจำของทุกปี

กิจกรรมในการปฏิบัติ
ตอนเช้า   -   พิธีการตัดและโกนผมนาคตามพิธีบวชปกติ แต่ก่อนจะเข้าพิธีสู่ขวัญนาคทุกคนจะต้องพากันออกจากวัดไป กราบศาลปู่ตาซึ่งเป็นศาลประจำหมู่บ้าน
  -  ถวายภัตตาหารพระสงฆ์
  -   นาค รวมกันที่วัด ตั้งกองบวช
  -   รับฟังการประวัติความเป็นมาจากปราชญ์ชาวบ้านและผู้รู้ในชุมชนโดนเสลา เกี่ยวกับงานแห่นาคโหด
ตอนบ่าย   -     พิธีบายศรีสู่ขวัญนาค
    -     ตั้งขบวนวัฒนธรรม
                  -    ขบวนแห่นาคโหดเริ่มต้น โดยการแห่ไปรอบๆหมู่บ้าน จนถึงวัด
ตอนเย็น     -    เจริญพุทธมนต์เย็น
-          เสร็จสิ้นพิธีการ / มหรสพตลอดคืน
ก่อนถึงวันงานพ่อนาคแม่นาคแต่ละวัดและกรรมการหมู่บ้านก็จะตกลงกันว่าปีนี้จะจ้างมหรสพ    จะเอาภาพยนตร์ หรือหมอลำคณะไหน เสร็จแล้วก็จะเตรียมงานหาอาหาร สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือขนมจีน  สมัยนั้นจะไม่มีโรงงานทำขนมจีนญาติพี่น้องต้องเอาข้าวสารจ้าวไปหมักก่อนวันงานสามวัน   ส่วนแม่นาคก็จะเดินทางไปบอกญาติพี่น้องตามหมู่บ้านว่าจะบวชให้ลูกชาย  ญาติพี่น้องต่างก็จะแสดงความยินดีกับเจ้าภาพที่ลูกชายจะบวช  จากนั้นวันงานญาติพี่น้องและคนในหมู่บ้าน ที่ไปทำงานต่างจังหวัดหรือในกรุงเทพฯ จะเดินทางมาร่วมงาน  วันงานนาคทุกองค์ก็จะมารวมกันที่วัดและมีพิธีการสู่ขวัญโดยหมอขวัญ ซึ่งเป็นการเรียกขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว และพรรณนาถึงพระคุณของแม่ ว่าการที่แม่อุ้มท้องอยู่ ๙ เดือนนั้นแม่มีความทุกข์ยากลำบากขนาดไหน แม่ต้องอดอาหาร แม่อยากจะกินน้ำพริกก็เป็นห่วงลูกที่อยู่ในท้อง ตลอดระยะเวลา ๙ เดือน วันที่แม่ต้องการคือวันนี้วันที่แม่ได้บวชลูก แม่จะได้เกาะชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์ เมื่อนาครู้ถึงความยากลำบากของแม่ นาคบางองค์ขณะที่หมอสู่ขวัญก็จะน้ำตาไหลร้องไห้ซาบซึ้งถึงบุญของแม่  เมื่อสู่ขวัญเสร็จแล้วก็จะขึ้นคานหามแห่รอบหมู่บ้านระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร ใช้เวลานานประมาณ ๔ ชั่วโมง ขณะที่แห่จะใช้กลองยาวรำมะนามาตี การแห่ก็จะมีเพื่อน ญาติ ฟ้อนรำไปตามจังหวะเสียงดนตรี และในระหว่างทางก็จะมีการโยนนาคไปตามจังหวะเสียงกลอง และญาติพี่น้องก็จะคอยรับเพราะกลัวนาคตก หากนาคตกถึงพื้นหรือเลือดออกจะบวชไม่ได้

Image result for แห่นาคโหด จ.ชัยภูมิ

ประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับ
            ทำให้ลูกหลานในหมู่บ้านได้ตอบแทนพระคุณบิดามารดา ชาวบ้าน ญาติพี่น้องที่อยู่ต่างหมู่บ้านได้มีโอกาสมาพบปะพูดคุยกัน ได้ทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีของชาวบ้านทั้งในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง เป็นการเผยแพร่ประเพณีท้องถิ่นของตนเองเพื่อที่จะให้คนอื่นรับรู้ถือเป็นการเชิญชวนให้มาเที่ยวมาชม อีกทั้งยังเป็นการรักษาประเพณีที่สำคัญของพระพุทธศาสนา ที่พุทธฑศาสนิกชนควรที่รักษาไว้อีกด้วย
            ซึ่งถือว่าคนรุ่นหนุ่มสมัยอดีต จะเป็นการปฏิบัติต่อกันรุ่นต่อรุ่นนั้นรุ่นนี้แห่กัน คนหามโหด เมื่อมาเจอคิวบวชของตนเองรุ่นน้องก็โหดต่อกันมาเรื่อย ๆเป็นรุ่น ๆกันไป ตามประสาคนหนุ่มในหมู่บ้านขณะที่นายสนิท ศรีบุดดา ไวยาวัจกรวัดตาแขก กล่าวว่า การจัดอุปสมบทหมู่ของหมู่บ้านจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หรือแห่นาคโหด ถือว่าเป็นการสะท้อนถึงความอดทน อดกลั้นของผู้ที่จะเข้าบวชแทนคุณบิดามารดาที่ให้กำเนิดมา และชาวบ้านที่นี่อยากให้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังสืบทอดต่อไปเป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจจะมีการมองว่ามีความรุนแรง แต่ชาวบ้านคนหนุ่มที่นี่กลับมองว่าเพื่อการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ต่อบิดามารดา การได้รู้จักการอดกลั้นความตั้งใจของผู้บวชเองมากกว่า

สำหรับครอบครัวที่มีบุตรชาย เยาวชนในหมู่บ้านมีความคิดและค่านิยมว่า “เกิดมาเป็น เด็กโนน-เสลา ถ้าเป็นผู้ชายต้องผ่านคานหามทุกคน ใครไม่ผ่านคานหามก็ไม่ใช่เด็กโนนเสลา”  ประเพณี"แห่นาคโหด" จึงเป็นด่านสำคัญที่สุดในชีวิตลูกผู้ชาย และความท้าทายคนหนุ่มในหมู่บ้านที่มีอายุครบบวชต้องเผชิญสำหรับคนหนุ่มในหมู่บ้าน ก่อนจะได้มีโอกาสเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ซึ่งไม่มีหนุ่มคนไหนในหมู่บ้านกล้าปฏิเสธ ที่จะไม่ผ่านประเพณีนี้  และหากใครปฏิเสธก็จะถูกตราหน้าว่า "บ่ใจ" หมายความว่า ใจไม่กล้า       จึงเป็นเรื่องศักดิ์ศรีของลูกผู้ชายใจนักเลงด้วย

อ้างอิง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น