หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561

เสียงในภาษาไทย

เสียงในภาษาไทย

                                                  https://www.google.co.th/search



             เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมา เพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยกัน และเพื่อสนองความต้องการต่าง ๆ เช่น ขอความช่วยเหลือ แสดงความรู้สึกรัก เกลียดโกรธ ชอบ ไม่ชอบ พอใจ ไม่พอใจ ฯลฯ
          เสียงในภาษาเกิดจากอวัยวะต่าง ๆ ตั้งแต่กระบังลม  ปอด  หลอดลม  กล่องเสียง  ลิ้นไก่  เพดาน  ลิ้น  ปุ่มเหงือก  ริมฝีปาก  และช่องจมูก  มาทำงานประสานกัน  จึงทำให้เกิดเสียงได้

          เสียงในภาษา มี 3 ชนิด คือ
          1. เสียงสระ หรือเสียงแท้
          2. เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร
          3. เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี
   เสียงสระ
          เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้น ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องทางเดินของลม แล้วกระทบเส้นเสียงทั้งสองข้าง เกิดเป็นเสียงสั่นสะเทือน มีเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนานกว่าเสียงพยัญชนะ
          เสียงสระ มี 24 เสียง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ 1. สระแท้ 2. สระประสม
          1. เสียงสระแท้ มี 18 เสียง แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
              1.1 สระแท้ฐานเดี่ยว มี 8 เสียง คือ


เสียงสั้น
เสียงยาว
อะ
อา
อิ
อี
อึ
อื
อุ
อู









    
        1.2  สระแท้สองฐาน  มี  10  เสียง  คือ

เสียงสั้น
เสียงยาว
เอะ
เอ
แอะ
แอ
โอะ
โอ
เอาะ
ออ
เออะ
เออ

















      2. เสียงสระประสม คือ การนำสระแท้มาประสมกัน 2 เสียง สระประสมมี 6 เสียง คือ

เสียงสั้น
เสียงยาว
เอียะ (อิ+อะ)
เอีย  (อี+อา)
เอือะ  (ฮึ+อะ)
เอือ  (อือ+อา)
อัวะ  (อุ+อะ)
อัว  (อู+อา)


                                                                                  

                                           


  





** หมายเหตุ ยังมีเสียงสระอีกชนิดหนึ่ง คือ สระเกิน ในสมัยก่อนถือว่าเป็นเสียงสระ แต่ปัจจุบันไม่ถือว่าสระเกินเป็นเสียงสระ เพราะมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่
          สระเกิน  มี  8  เสียง คือ
          1. อำ  (อะ+ม)                                  5. ฤ  (อึ+ร)     อ่านว่า  รึ
          2. ไอ  (อะ+ย)                                  6. ฤา  (อือ+ร)  อ่านว่า  รือ
          3. ใอ  (อะ+ย)                                  7. ฦ  (อึ+ล)      อ่านว่า  ลึ
          4. เอา  (อะ+ว)                                 8. ฦา  (อือ+ล)   อ่านว่า  ลือ
    เสียงพยัญชนะ
          เสียงพยัญชนะ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องปากหรือช่องจมูก ลมอาจถูกสกัดกั้นไว้ทั้งหมดหรือเป็นบางส่วน จึงทำให้เกิดเสียงพยัญชนะต่าง ๆ
          เสียงพยัญชนะ มี  21  เสียง  ได้แก่
เสียงพยัญชนะไทย (21  เสียง)
รูปพยัญชนะไทย (44  รูป)
1.   ก
2.   ข
ข   ฃ   ค   ฅ   ฆ
3.   ง
4.   จ
5.   ช
ช   ฌ   ฉ
6.   ซ
ซ   ศ   ษ   ส
7.   ด
ด  ฎ
8.   ต
ต  ฏ
9.   ท
ท   ธ   ฑ   ฒ   ถ   ฐ
10.  น
น   ณ
11.  บ
12.  ป
13.  พ
พ   ภ   ผ
14.  ฟ
ฟ   ฝ
15.  ม
16.  ย
ย   ญ
17.  ร
18.  ล
ล   ฬ
19.  ว
20.  ฮ
ห   ฮ
21.  อ 
                                                                                  

                                           















** หมายเหตุ เราสามารถนำเสียงพยัญชนะ 2 เสียงมารวมกัน แล้วออกเสียงพร้อมกันกันก็ได้ ซึ่งเราเรียกว่า "เสียงพยัญชนะควบกล้ำ"
    เสียงวรรณยุกต์    
          เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่มีระดับสูงต่ำแตกต่างกันไป นับว่าสำคัญมาก เพราะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย
          เสียงวรรณยุกต์ มี 5 เสียง คือ
          1. เสียงสามัญ เช่น แตง ปาน แนว กอง เป็นต้น
          2. เสียงเอก เช่น จัด ก่อน โปรด อิ่ม เป็นต้น
          3. เสียงโท เช่น หิ้ว ง่าย มีด บ้าน ชั่ง ท้อง เป็นต้น
          4. เสียงตรี เช่น โต๊ะ ชุด พลุ ไม้ เป็นต้น
          5. เสียงจัตวา เช่น เสือ หวาน เขา ถือ เป็นต้น
** หมายเหตุ เสียงวรรณยุกต์ที่อยู่ในพยางค์หรือคำต่าง ๆ ที่เราออกเสียงนั้น มีทั้งที่เสียงวรรณยุกต์ตรงกับรูปวรรณยุกต์ และไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ เช่น
           - เสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น ผ่า ข้าว เจี๊ยบ เป็นต้น
          -  เสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์ไม่ตรงกัน เช่น เที่ยว ม้า ค้า เป็นต้น
ทบทวนความรู้ : บอกเสียงของพยางค์ในประโยคต่อไปนี้
ประโยค
เสียงวรรณยุกต์
สามัญ
เอก
โท
ตรี
จัตวา
หัวล้านได้หวี
-
-
ได้
ล้าน
หัว / หวี
ดินพอกหางหมู
ดิน
-
พอก
-
หาง / หมู
แผ่นดินกลบหน้า
ดิน
แผ่น / กลบ
หน้า
-
-
ฝนตกขี้หมูไหล
-
ตก
ขี้
-
ฝน / หมู/ ไหล
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
แตน
ขี่ / จับ
-
ช้าง / ตั๊ก
-

          

              พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกครั้งหนึ่ง ๆ โดยเสียงนั้นจะมีความหมาย หรือไม่มีความหมายก็ได้ โดยเสียงที่เปล่งออกมา 1 ครั้ง เรียกว่า 1 พยางค์ หรือถ้าเปล่งเสียงออกมา 2 ครั้ง เรียกว่า 2 พยางค์ เช่น
          ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด มีจำนวน 4 พยางค์
          สวรรค์ อ่านว่า สะ-หวัน มีจำนวน ๒ พยางค์
          องค์ประกอบของพยางค์ พยางค์หนึ่งจะประกอบด้วยเสียงอย่างน้อยที่สุด 3 เสียง คือ เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ (บางพยางค์อาจมีเสียงพยัญชนะท้ายเพิ่มอีก 1เสียง ซึ่งเรียกว่า “ตัวสะกด” ) เช่น คำว่า “ ทหาร” (อ่านว่า ทะ- หาน) ประกอบด้วย
          - เสียงพยัญชนะต้น คือ ท.
          - เสียงสระ คือ สระอะ (ทะ) และสระอา (หาน)
          - เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงสามัญ (ทะ) และเสียงจัตวา (หาน)
          - เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ คือ หาน ซึ่งตรงกับมาตราตัวสะกด แม่ กน

      มาตราตัวสะกด      
          เสียงพยัญชนะในภาษาไทยมี 21 เสียง แต่ทั้ง 21 เสียงนี้ ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ หรือเป็นตัวสะกด ได้เพียง 8 เสียง เท่านั้น ซึ่งเราเรียกพยัญชนะท้ายพยางค์ว่า “มาตราตัวสะกด” แบ่งเป็น
          1. แม่ ก กา คือ พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ เช่น แม่ ใคร มา
          2. แม่ กก คือ พยางค์ที่มีเสียง ก ท้ายพยางค์ เช่น ทุกข์ สุข มรรค     
          3. แม่ กง คือ พยางค์ที่มีเสียง ง ท้ายพยางค์ เช่น องค์ ปรางค์ ทอง
          4. แม่ กด คือ พยางค์ที่มีเสียง ด ท้ายพยางค์ เช่น อาทิตย์ สิทธิ์ ครุฑ
          5. แม่ กน คือ พยางค์ที่มีเสียง น ท้ายพยางค์ เช่น สถาน การ บริเวณ
          6. แม่ กบ คือ พยางค์ที่มีเสียง บ ท้ายพยางค์ เช่น กราบ กราฟ โลภ
          7. แม่ กม คือ พยางค์ที่มีเสียง ม ท้ายพยางค์ เช่น ขนม กลม อาศรม
          8. แม่ เกย คือ พยางค์ที่มีเสียง ย ท้ายพยางค์ เช่น กล้วย ปลาย ผู้ชาย
          9. แม่ เกอว คือ พยางค์ที่มีเสียง ว ท้ายพยางค์ เช่น แม้ว ไข่เจียว ปีนเกลียว

อ้างอิง
https://www.kroobannok.com/1684

http://oknation.nationtv.tv/blog/ThaiTeacher/2009/06/09/entry-2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น