e-book ย่อมาจากคำว่า electronic book คือ หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
มีลักษณะเป็นเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
มีลักษณะเป็นเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
หนังสือที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์
ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง
ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย
จึงได้นำหนังสือดังกล่าวเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยที่หนังสือก็ยังคงสภาพเดิมแต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพขึ้นมาใหม่
วิธีการต่อจากนั้นก็คือจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัวหนังสือ
(text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character
Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้
คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ
ของหนังสือเว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้อ่านได้
นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ
และทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป
ลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกระบวนการผลิต รูปแบบ
และวิธีการอ่านหนังสือ
ทำให้ผู้อ่านสะดวกขึ้นเพราะไม่ต้องพกหนังสือหลายๆเล่มเพียงแค่มีคอมพิวเตอร์แบบพกพาติดตัว
อย่างtablet
ก็สามารถพกหนังสือติดตัวได้ทีละหลายๆเล่ม
ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(e-Book)
กับหนังสือทั่วไป
ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น
1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้
3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก
หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล(update) ได้ง่าย
5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ ประหยัด
7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรมผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์
9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถสั่งพิมพ์ได้
10. หนังสือทั่วไปอ่านได้
1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก
(ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ใน
Handy Drive หรือ CD
12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง
e-Book
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-Book
มีอยู่หลายโปรแกรมแต่ที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบัน ได้แก่
1. โปรแกรมชุด Flip
Album
2. โปรแกรม DeskTop
Author
3. โปรแกรม Flash
Album Deluxe
ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย
มิฉะนั้น แล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1.1 โปรแกรมชุด Flip
Album ตัวอ่านคือ FlipViewer
1.2 โปรแกรมชุด DeskTop
Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
1.3 โปรแกรมชุด Flash
Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player
โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(e-Book
Construction)
ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ
หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต รูปแบบ
และวิธีการอ่านหนังสือ
สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ประกอบด้วย
1. หน้าปก (Front
Cover) คือ ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่า
หนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
2. คำนำ (Introduction) คือ คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล
และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น
3. สารบัญ (Contents) คือ ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้างอยู่ที่หน้าใดของหนังสือ
สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้
4. สาระของหนังสือแต่ละหน้า
คือ ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่ม ประกอบด้วย
• หน้าหนังสือ (Page
Number)
• ข้อความ
(Texts)
• ภาพประกอบ (Graphics)
.jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
• เสียง (Sounds)
.mp3, .wav, .midi
• ภาพเคลื่อนไหว (Video
Clips, flash) .mpeg, .wav, .avi
• จุดเชื่อมโยง (Links)
5. อ้างอิง คือ
แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้
6. ดัชนี คือ การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ
ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษร
ให้สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
ให้สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
7. ปกหลัง คือ
ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น